คุณสมบัติและประโยชน์ของแคลเซี่ยม


ประโยชน์ของแคลเซี่ยม

  1. สูตรทางเคมี Ca Co3
  2. ส่วนประกอบ Ca 0.56% และ Co2 44%
  3. CCE 90-97%
    เหมาะสำหรับ ปรับ PH ดิน แก้ปัญหาดินกรด, ดินเปรี้ยว เพิ่มแคลเซี่ยมในสูตรอาหารสัตตว์ ไก่, หมู
  4. สัตว์น้ำ เพิ่มความเยียวแก่น้ำ และเพิ่มแคลเซี่ยมต่อกุ้ง ในระหว่าการเลี้ยง

แคลเซียม+โบรอน มีประโยชน์กับไม้ผลอย่างไร

แคลเซียมโบรอน เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำได้ทั้งหมดและพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ประกอบด้วย แคลเซียม , โบรอน กรดอะมิโน 17 ชนิด และอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มการผสมเกสร ลดการหลุดร่วงของขั้วดอกและขั้วผล ขยายขนาดผล กระตุ้นการแตกตาดอก ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ทำให้พืชแข็งแรง ใบเขียว ป้องการอาการก้นดำในมะเขือเทศ ไส้ดำในกะหล่ำปลี ทำให้โครงสร้างพืชแข็งแรง ต้านทานโรคได้ดี

ธาตุอาหารเสริม 7 ธาตุ ที่พืชใช้ในปริมาณที่น้อยแต่พืชจะขาดธาตุอาหารเหล่านี้ไม่ได้เช่นกัน คือ เหล็ก , แมงกานีส , สังกะสี , ทองแดง , โบรอน , โมลิบดีนัม และคลอรีน ธาตุแคลเซียม เป็นธาตุที่ต้นพืชนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ช่วยส่งเสริมการนำธาตุไนโตรเจนจากดินมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ในระยะออกดอกและระยะที่สร้างเมล็ด พืชจะมีความจำเป็นต้องใช้มาก เพราะธาตุแคลเซียมจะมีส่วนในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษาคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนในพืช เพื่อนำไปใช้ในการสร้างผลและเมล็ดต่อไป ประกอบกับเป็นองค์ประกอบของสารที่เชื่อมผนังเซลล์ ช่วยในการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด และช่วยให้เอ็นไซม์ทำงานได้ดี อาการของพืชที่ขาดแคลเซียม จะพบมากในบริเวณยอดใบที่เจริญใหม่ๆ หงิกม้วนงอและขาดเป็นริ้วๆ ตายอด ไม่เจริญ อาจมีจุดดำที่เส้นใบ รากสั้น ยอดอ่อนจะแห้งตาย ทั้งนี้แก้ไขโดยการใส่ปูนขาว หินปูนบด หินปูนเผา เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน หรือการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดิน หากขาดธาตุโบรอน ส่วนที่จะแสดงอาการเริ่มแรกคือ ส่วนยอดและใบอ่อน จะบิดงอ ใบอ่อนบางและโปร่งใสผิดปกติ เส้นกลางใบหน้ากร้าน และตกกระ มีสารเหนียวๆ ออกมาตามเปลือกของลำต้น ตายอดตายแล้วมีตาข้าง แต่ตาข้างก็จะตายเหมือนกัน ลำต้นไม่ค่อยยืดตัว กิ่งก้านใบจึงชิดกัน ใบเล็ก หนา ผลเล็กและแข็งผิดปกติ มีเปลือกหนาบางทีผลแตกเป็นแผลได้

“แคลเซียมเพิ่มความหวาน สร้างน้ำตาล แต่การเคลื่อนย้ายเกี่ยวข้องกับโบรอน แคลเซียมเผาผลาญไนโตรเจนเพราะฉะนั้นแคลเซียมกับไนโตรเจนจึงไปด้วยกัน ถ้าขาดแคลเซียม ไนโตรเจนก็ไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นที่ถามว่าทำไมถึงต้องใช้แคลเซียม-โบรอน ตามหลักวิชาการก็คือเราใช้ตอนที่ดินมันขาด หรือเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในช่วงที่ต้องใช้พลังงานเยอะ เพราะมันต้องเผาผลาญไนโตรเจน แล้วถามอีกว่าแคลเซียมเกี่ยวข้องอะไร ก็อย่างที่บอกว่าการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลเกี่ยวข้องกับโบรอน เพราะฉะนั้นจึงสำคัญมากในการทำผลไม้นอกฤดู”